หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 พลังงานความร้อน

                                               หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 พลังงานความร้อน

 4.1 อุณหภูมิและการวัด 

ความร้อน
            ความร้อน เป็นพลังงานรูปหนึ่งที่สะสมอยู่ในรูปพลังงานจลน์ของโมเลกุลของวัตถุ  ความร้อนอาจเปลี่ยนมาจากพลังงานไฟฟ้า  พลังงานกล  พลังงานแสง และพลังงานความร้อนก็สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานรูปอื่นได้

         


   พลังงาน  1  แคลอรี่  คือ   พลังงานความร้อนที่ทำให้น้ำมวล  1  กรัม  มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น  1  องศาเซลเซียส
            โดย 
   1 cal  =  4.2 J         
   1  g    =   0.24  cal  

 อุณหภูมิ
            อุณหภูมิ (Temperature) หมายถึง ระดับความร้อนของสาร ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเราใส่พลังงานความร้อนให้กับสสาร อะตอมของมันจะเคลื่อนที่เร็วขึ้น ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น แต่เมื่อเราลดพลังงานความร้อน อะตอมของสสารจะเคลื่อนที่ช้าลง ทำให้อุณหภูมิลดต่ำลง

เทอร์มอมิเตอร์
            โดยการ วัดระดับความร้อนของสิ่งนั้นๆ เครื่องมือที่ใช้วัดระดับความร้อน เรียกว่า "เทอร์มอมิเตอร์" ซึ่งทั่วไปนิยมใช้บอกองศาเซลเซียส และองศาฟาเรนไฮต์ การใช้โดยการให้กระเปาะเทอร์มอมิเตอร์สัมผัสกับสิ่งที่ต้องการวัดโดยตรงจริงๆ เท่านั้นและตั้งตรง อ่านสเกลต้องอ่านในระดับสายตาและระดับเดียวกับของเหลวในเทอร์มอมิเตอร์

หลักการทำงานของเทอร์มอมิเตอร์
            ของเหลวที่บรรจุภายในเป็นปรอท หรือ แอลกอฮอล์ผสมสี นิยมใช้บิวทิลแอลกอฮอล์  และใส่สีแดงผสมลงไป เพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นเหตุที่ใช้ของเหลวนี้เพราะมีคุณสมบัติในการขยายและหดตัว หลักการสำคัญของเทอร์มอมิเตอร์ มีอยู่ว่า สารเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว และเมื่อลดความร้อนจะหดตัว หรือมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ  มี  2  ชนิด
        1. เทอร์มอมิเตอร์แบบธรรมดา เป็นเทอร์มอมิเตอร์ที่ใช้วัดอุณหภูมิทั่วๆ ไป โดยอาศัยหลักการของการขยายตัวของของเหลวเมื่อได้รับความร้อน  และหดตัวเมื่อคายความร้อน
            2. เทอร์มอมิเตอร์วัดไข้ เป็นเทอร์มอมิเตอร์ที่ใช้วัดอุณหภูมิของร่างกายโดยเฉพาะ  มีขีดบอกอุณหภูมิระหว่าง  35 - 42
องศา  มีการแบ่งช่องระหว่างองศาอย่างละเอียด

  ของเหลวที่นิยมใช้บรรจุในเทอร์มอมิเตอร์  คือ  ปรอท  และแอลกอฮอล์  

    เทอร์มอมิเตอร์ที่ใช้ปรอท
            ข้อดี
                1. ขยายตัวทันทีเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง  ทำให้อ่านอุณหภูมิได้ละเอียด
                2. เป็นตัวนำความร้อนที่ดี
                3. ทึบแสงและสะท้อนแสงได้ดี
                4. ไม่เกาะผิวหลอดแก้ว  ทำให้เคลื่อนที่ขึ้นลงได้สะดวก  ไม่มีการติดค้างหรือขาดตอน
                5. เปลี่ยนสถานะเป็นไอยาก
            ข้อเสีย
                1. จะแข็งตัว  ถ้าใช้ในบริเวณที่หนาวมากๆ  ซึ่งปรอทมีจุดหลอมเหลวที่ -39 องศา  และมีจุดเดือดที่  357  องศา
                2. ปรอทเป็นสารพิษ
    เทอร์มอมิเตอร์ที่ใช้แอลกอฮอล์
            ข้อดี
                1. สามารถใช้ในบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำมากๆ  ได้  เพราะมีจุดหลอมเหลวที่  -895  องศา  และมีจุดเดือดที่  117.7  องศา
                2. ขยายตัวได้ดีกว่าปรอท  6  เท่า
                3. ราคาถูกกว่า
            ข้อเสีย
                - ใช้ในบริเวณที่ที่ร้อนมากไม่ได้  เพราะแอลกอฮอล์จะเดือดที่อุณหภูมิต่ำกว่าปรอท

 หน่วยวัดอุณหภูมิ
           เทอร์มอมิเตอร์มีหน่วยวัดบอกอุณหภูมิ  4  หน่วย




            จุดเดือด (Boiling Point) คือ  จุดที่อุณหภูมิของน้ำกำลังเดือดเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอหรือจุดที่อุณหภูมิของไอน้ำกำลังเปลี่ยนสถานะกลายเป็นน้ำที่ความดันระดับน้ำทะเล
            จุดเยือกแข็ง (Freezing Point) คือ  จุดที่อุณหภูมิของน้ำแข็งกำลังเปลี่ยนสถานะกลายเป็นน้ำหรือจุดที่อุณหภูมิของน้ำกำลังเปลี่ยนสถานะกลายเป็นน้ำแข็งที่ความดันระดับน้ำทะเล
           ถ้าเทอร์มอมิเตอร์แบบเซลเซียส  ฟาเรนไฮต์  โรเมอร์  เคลวิน  และแบบอื่นๆ  อ่านอุณหภูมิได้  C,  F,  R,  K  และ  X  ตามลำดับ  จะสามารถเทียบเปลี่ยนอุณหภูมิที่อ่านได้จาก



 จะได้ว่า


                                 F.P.   คือ  Freezing  Point  หรือจุดเยือกแข็งของน้ำ
                                 B.P.   คือ Boiling  Point   หรือจุดเดือดของน้ำ

            หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อนในระบบต่างๆ
                                 ระบบเมตริก ใช้พลังงานความร้อนในหน่วยของ แคลอรี่ (Cal) หรือกิโลแคลอรี่ (Kcal)
                                 ระบบเอสไอ ใช้พลังงานความร้อนในหน่วยของ จูล (J) หรือกิโลจูล (KJ)
                                 ระบบอังกฤษ ใช้พลังงานความร้อนในหน่วยของ บีทียู (Btu)

  1 Cal = 4.2J หรือ 1 Kcal = 4,200J 

 ตัวอย่างที่ 1 อุณหภูมิที่สยามสแควร์วัดได้  27  องศาเซลเซียส  จะมีค่าเท่าใดในหน่วยระบบเอสไอ
           วิธีทำ           จาก     K   =   C  +  273
                                                  =   27  +  273
                                                  =   300  เคลวิน

ตัวอย่างที่ 2 ตอนเช้าเดินทางจากอำเภอเมือง  จังหวัดเลย  อุณหภูมิ  5  องศาเซลเซียส  ไปภูกระดึง  เมื่อขึ้นถึงยอดภูกระดึงอุณหภูมิของอากาศเป็น  28.4  องศาฟาเรนไฮต์  ที่อำเภอเมือง  และยอดภูกระดึงมีอุณหภูมิต่างกันอย่างไร
           วิธีทำ           เราเปลี่ยนอุณหภูมิให้อยู่ในหน่วยเดียวกัน  จึงจะเปรียบเทียบค่าได้  สำหรับข้อนี้เราเปลี่ยน
                                5  C   ให้เป็นฟาเรนไฮต์  โดยใช้ความสัมพันธ์
                                                           C/5   =   (F -  32)/92
                                แทนค่า              5/5    =   (F-32)/9
                                                           F       =       41
                                ดังนั้น   อุณหภูมิที่อำเภอเมืองสูงกว่าที่ภูกระดึง   41 - 28.4  =  12.6  F

 ตัวอย่างที่ 3 อุณหภูมิของร่างกายมนุษย์ 98.6?F คิดเป็นองศาเซลเซียส และเคลวิน ได้เท่าไร
           วิธีทำ           แปลงเป็นองศาเซลเซียส          C/5   =   (F -  32)/9
                                                                                    C/5   =   (98.6 - 32)/9
                                                                                    c       =   (66.6 )/9  X  5
                                                                                             =       37   ํC

                                 แปลงเป็นองศาเคลวิน                        =  37 + 273 K
                                                                                              =  310
 ความร้อน
            ความร้อน เป็นพลังงานรูปหนึ่งที่สะสมอยู่ในรูปพลังงานจลน์ของโมเลกุลของวัตถุ  ความร้อนอาจเปลี่ยนมาจากพลังงานไฟฟ้า  พลังงานกล  พลังงานแสง และพลังงานความร้อนก็สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานรูปอื่นได้
            พลังงาน  1  แคลอรี่  คือ   พลังงานความร้อนที่ทำให้น้ำมวล  1  กรัม  มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น  1  องศาเซลเซียส
            โดย 
   1 cal  =  4.2 J         
   1  g    =   0.24  cal  

 อุณหภูมิ
            อุณหภูมิ (Temperature) หมายถึง ระดับความร้อนของสาร ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเราใส่พลังงานความร้อนให้กับสสาร อะตอมของมันจะเคลื่อนที่เร็วขึ้น ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น แต่เมื่อเราลดพลังงานความร้อน อะตอมของสสารจะเคลื่อนที่ช้าลง ทำให้อุณหภูมิลดต่ำลง

 เทอร์มอมิเตอร์
            โดยการ วัดระดับความร้อนของสิ่งนั้นๆ เครื่องมือที่ใช้วัดระดับความร้อน เรียกว่า "เทอร์มอมิเตอร์" ซึ่งทั่วไปนิยมใช้บอกองศาเซลเซียส และองศาฟาเรนไฮต์ การใช้โดยการให้กระเปาะเทอร์มอมิเตอร์สัมผัสกับสิ่งที่ต้องการวัดโดยตรงจริงๆ เท่านั้นและตั้งตรง อ่านสเกลต้องอ่านในระดับสายตาและระดับเดียวกับของเหลวในเทอร์มอมิเตอร์

 หลักการทำงานของเทอร์มอมิเตอร์
            ของเหลวที่บรรจุภายในเป็นปรอท หรือ แอลกอฮอล์ผสมสี นิยมใช้บิวทิลแอลกอฮอล์  และใส่สีแดงผสมลงไป เพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นเหตุที่ใช้ของเหลวนี้เพราะมีคุณสมบัติในการขยายและหดตัว หลักการสำคัญของเทอร์มอมิเตอร์ มีอยู่ว่า สารเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว และเมื่อลดความร้อนจะหดตัว หรือมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ  มี  2  ชนิด
        1. เทอร์มอมิเตอร์แบบธรรมดา เป็นเทอร์มอมิเตอร์ที่ใช้วัดอุณหภูมิทั่วๆ ไป โดยอาศัยหลักการของการขยายตัวของของเหลวเมื่อได้รับความร้อน  และหดตัวเมื่อคายความร้อน
            2. เทอร์มอมิเตอร์วัดไข้ เป็นเทอร์มอมิเตอร์ที่ใช้วัดอุณหภูมิของร่างกายโดยเฉพาะ  มีขีดบอกอุณหภูมิระหว่าง  35 - 42
องศา  มีการแบ่งช่องระหว่างองศาอย่างละเอียด

  ของเหลวที่นิยมใช้บรรจุในเทอร์มอมิเตอร์  คือ  ปรอท  และแอลกอฮอล์  

     เทอร์มอมิเตอร์ที่ใช้ปรอท
            ข้อดี
                1. ขยายตัวทันทีเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง  ทำให้อ่านอุณหภูมิได้ละเอียด
                2. เป็นตัวนำความร้อนที่ดี
                3. ทึบแสงและสะท้อนแสงได้ดี
                4. ไม่เกาะผิวหลอดแก้ว  ทำให้เคลื่อนที่ขึ้นลงได้สะดวก  ไม่มีการติดค้างหรือขาดตอน
                5. เปลี่ยนสถานะเป็นไอยาก
            ข้อเสีย
                1. จะแข็งตัว  ถ้าใช้ในบริเวณที่หนาวมากๆ  ซึ่งปรอทมีจุดหลอมเหลวที่ -39 องศา  และมีจุดเดือดที่  357  องศา
                2. ปรอทเป็นสารพิษ
     เทอร์มอมิเตอร์ที่ใช้แอลกอฮอล์
            ข้อดี
                1. สามารถใช้ในบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำมากๆ  ได้  เพราะมีจุดหลอมเหลวที่  -895  องศา  และมีจุดเดือดที่  117.7  องศา
                2. ขยายตัวได้ดีกว่าปรอท  6  เท่า
                3. ราคาถูกกว่า
            ข้อเสีย
                - ใช้ในบริเวณที่ที่ร้อนมากไม่ได้  เพราะแอลกอฮอล์จะเดือดที่อุณหภูมิต่ำกว่าปรอท

 หน่วยวัดอุณหภูมิ
           เทอร์มอมิเตอร์มีหน่วยวัดบอกอุณหภูมิ  4  หน่วย
            จุดเดือด (Boiling Point) คือ  จุดที่อุณหภูมิของน้ำกำลังเดือดเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอหรือจุดที่อุณหภูมิของไอน้ำกำลังเปลี่ยนสถานะกลายเป็นน้ำที่ความดันระดับน้ำทะเล
            จุดเยือกแข็ง (Freezing Point) คือ  จุดที่อุณหภูมิของน้ำแข็งกำลังเปลี่ยนสถานะกลายเป็นน้ำหรือจุดที่อุณหภูมิของน้ำกำลังเปลี่ยนสถานะกลายเป็นน้ำแข็งที่ความดันระดับน้ำทะเล
           ถ้าเทอร์มอมิเตอร์แบบเซลเซียส  ฟาเรนไฮต์  โรเมอร์  เคลวิน  และแบบอื่นๆ  อ่านอุณหภูมิได้  C,  F,  R,  K  และ  X  ตามลำดับ  จะสามารถเทียบเปลี่ยนอุณหภูมิที่อ่านได้จาก

           จะได้ว่า
                                 F.P.   คือ  Freezing  Point  หรือจุดเยือกแข็งของน้ำ
                                 B.P.   คือ Boiling  Point   หรือจุดเดือดของน้ำ

            หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อนในระบบต่างๆ
                                 ระบบเมตริก ใช้พลังงานความร้อนในหน่วยของ แคลอรี่ (Cal) หรือกิโลแคลอรี่ (Kcal)
                                 ระบบเอสไอ ใช้พลังงานความร้อนในหน่วยของ จูล (J) หรือกิโลจูล (KJ)
                                 ระบบอังกฤษ ใช้พลังงานความร้อนในหน่วยของ บีทียู (Btu)

  1 Cal = 4.2J หรือ 1 Kcal = 4,200J 

 ตัวอย่างที่ 1 อุณหภูมิที่สยามสแควร์วัดได้  27  องศาเซลเซียส  จะมีค่าเท่าใดในหน่วยระบบเอสไอ
           วิธีทำ           จาก     K   =   C  +  273
                                                  =   27  +  273
                                                  =   300  เคลวิน

 ตัวอย่างที่ 2 ตอนเช้าเดินทางจากอำเภอเมือง  จังหวัดเลย  อุณหภูมิ  5  องศาเซลเซียส  ไปภูกระดึง  เมื่อขึ้นถึงยอดภูกระดึงอุณหภูมิของอากาศเป็น  28.4  องศาฟาเรนไฮต์  ที่อำเภอเมือง  และยอดภูกระดึงมีอุณหภูมิต่างกันอย่างไร
           วิธีทำ           เราเปลี่ยนอุณหภูมิให้อยู่ในหน่วยเดียวกัน  จึงจะเปรียบเทียบค่าได้  สำหรับข้อนี้เราเปลี่ยน
                                5  C   ให้เป็นฟาเรนไฮต์  โดยใช้ความสัมพันธ์
                                                           C/5   =   (F -  32)/92
                                แทนค่า              5/5    =   (F-32)/9
                                                           F       =       41
                                ดังนั้น   อุณหภูมิที่อำเภอเมืองสูงกว่าที่ภูกระดึง   41 - 28.4  =  12.6  F

 ตัวอย่างที่ 3 อุณหภูมิของร่างกายมนุษย์ 98.6?F คิดเป็นองศาเซลเซียส และเคลวิน ได้เท่าไร
           วิธีทำ           แปลงเป็นองศาเซลเซียส          C/5   =   (F -  32)/9
                                                                                    C/5   =   (98.6 - 32)/9
                                                                                    c       =   (66.6 )/9  X  5
                                                                                             =       37   ํC

                                 แปลงเป็นองศาเคลวิน                        =  37 + 273 K

                                                                                              =  310

ที่มา : http://www.tsk2.ac.th/krooaon/lesson3-1.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น